วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่1 พฤษภาคม 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น



วันนี้เป็นการสอบร้องเพลง มีเพลงทั้งหมด 21 เพลง ให้ออกมาจับสลากว่าใครจะได้ร้องเพลงไหน






การประเมิน

ประเมินตนเอง   แต่งตัวเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตื่นเต้นมากในการสอบร้องเพลงมือเย็นเลยทีเดียว
แต่พอร้องเสร็จก็โล่งอกทันที วันนี้เป็นวันปิดครอสอยากให้อาจารย์สอนไปจนจบเลย 
ประเมินเพื่อน   เพื่อนก็ตื่นเต้นในการร้องเพลง บางคนร้องเพลง
บางคนก็ร้องเสียงเพี้ยนบ้าง แต่เพื่อนๆก็ให้กำลังใจ บางคนก็แกล้งเพื่อนอัดวิดีโอบ้าง แต่ก็ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่น่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ก็แต่งตัวเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจสอน อธิบายยกตัวอย่างประกอบเสมอ ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น


บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 22 เมษายน 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

อาจารย์ให้เล่นเกมแบบทดสอบจิตวิทยา ดิ่งพสุธา จากนั้นก็สอนเรื่องการเขียนแผน IEP
 แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิะีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมิน

ประโยชน์ต่อเด็ก
 -ได้เรียนรู้ตามความสารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟิ้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการการจัดทำแผนการศึกาารายบุคคล

1.การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
 -ประชุมผุ้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
 1.จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเขนแม้จะกว้าง
-น้องนุชช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
-น้องริวเข้ากัยเพื่อนคนอื่นๆได้
2.จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภาใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมให้เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน(ที่จะเกิดพฤติกรรมนั้น)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

ใคร               อรุณ
อะไร             กระโดดขาเดียวได้
เมื่อไหร่         กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน    กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที




ใคร               ธนาภรณ์
อะไร             นั่งเงียบๆโดยไม่พูด
เมื่อไหร่         ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน    ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน

3.การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสารถดดยคำนึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลและสิ่งแวดล้อมของเด้กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อกรแสดงออกของเด็ก

4.การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


                                     

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้และเทคนิคการเขียนแผน IEP ไปลองฝึกเขียนให้เป็น ให้มีความถูกต้อง และสามารถเขียนให้กับเด็กพิเศษในอนาคตได้

 การประเมิน
ประเมินตนเอง   ตั้งใจเรียนแอบคุยกันเสียงดังบางครั้ง สนุกกับเกมที่อาจารย์มาให้เล่น เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน
ประเมินเื่พื่อน   เพื่อนแต่งตัวเรียบร้อย บางคนมาตรงเวลา บางคนมาสายบ้างเล็กน้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เสียงดังบ้างบางครั้งแต่ถ้าอาจารย์บอกให้เงียบเมื่อไหร่ก็จะตั้งใจฟัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจสอนอธิบายอย่างละเอียดยกตัวอย่างประกอบเสมอทำให้เข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดี


บันทึกอนุทินครั้งที่14















ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ เนื่องจากวันสงกรานต์



บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 8 เมษายน 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น



ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่า  ฉันทำได้
พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่งคำ แนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส  กลิ่น-------> ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

-การกรอกนิ้ว ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
-มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
 
-ลูกปัดขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ทำเป็นกลุ่ม


ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
-มิติสัมพันธ์
-จับกลุ่ม

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้เด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก

 

หนูไม่ได้มาเรียนค่ะ เนื่องจากฝนตก 


วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12





บันทึกอนุทินครั้งที่ 12






    




                                      
    ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสี  ศึกษาสัมพันธ์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น









วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์สอบวัดความรู้



บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น




การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
อาจารย์ให้เล่นเกมส์สตอเบอร์รี่

3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน


การสร้างความอิสละ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง ทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
 
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
 
หัดให้เด็กทำเอง
*** ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจแข็ง) เช่นกรณีน้องติดกระดุม เมื่อเด็กพยายามติดกระดุมให้เด็กได้ลองทำเองบ้าง ถ้าไม่ได้จริงๆค่อยช่วยเหลือ
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากจนเกินไปทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหาให้เวลาเขาทำ
- หนูทำช้า  หนูยังทำไม่ได้
จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
 
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
 
การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขั้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม 
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆมากที่สุด


สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็ยขั้นๆ
-ความสำเร็จเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สุกเป็นอิสระ



ศิลปะบำบัด
ให้เลือกสีที่ชอบที่สุดวงกลมกลางกระดาษจะขนาดไหนก็ได้ตามใจเรา เมื่อพอใจก็ให้ตัดเป็นวงกลม







กิจกรรมนี้ช่วย
ฝึกสมาธิ
กล้ามเนื้อเล็ก
จินตนาการ
ความคิดสร้างสรรค์
มิติสัมพันธ์

ใช้ได้กับเด็กออทิสติก  สมาธิสั้น ดาว์ซินโดรม และเด็กปกติได้


ประเมินตนเอง อากาศร้อน ง่วงนอน ไม่มีสมาธิในการเรียน แต่ก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ ฟังอาจารย์อธิบายและตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน   เพื่อนบ่นร้อนจึงทำให้บรรยากาศไม่ค่อยน่าเรียน เพื่อนเสียสมาธิง่าย บางคนก็ตั้งใจเรียนบางคนไม่ไหวจริงๆก็นอนบ้าง 
ประเมินอาจารย์  ถึงแม้อากาศจะร้อนอาจารย์ก็ยังควบคุมอารมณ์ได้ ตั้งใจสอนและยกตัวอย่างอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่สอนตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบ เพื่อนเช็คความเข้าใจ 




บันทึกอนุทินครั้งที่ 9



บันทึกอนุทินครั้งที่9 

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ วันนี้จะเกี่ยวกับหัวข้อที่ 2 คือทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม 
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น จิ้งจกเป็นคำว่า จก
-พูดติดอ่าง
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง ควายเป็นคำว่าฟาย

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ  ตามสบาย  คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้ข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด เช่น ท่าทาง /แสดงออกทางสีหน้า
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่              ใช่              ไม่ใช่       บางครั้ง
-เสียงของครูหันมามอง
-จะเอาอะไรด้วยการชี้
-จะเอานี่ใช่ไหม โดยการพยักหน้า
-หนูอยากได้อะไรด้วยการพูด
-เล่าให้ครูฟังซิ โดยการพูดประโยค                                                            

พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก 
เด็กเริ่มทำโดย                                           ใช่              ไม่                 บางครั้ง
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดเพื่อเรียกร้องความสนใจ
-ใช้เสียงต่ำสูงจะถามคำถาม
-ชี้ไปยังสิ่งที่ต้องการจะเอา
-ขอสิ่งต่างๆโดยการบอกชื่อ
-พูดเป็นวลีที่มีเาียงคล้ายคำ
-เล่าเรื่องที่เห็นโดยใช้วลี2-3คำ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรอยู่
-ตั้งคำถาม ทำไม
ตั้งคำถาม  อย่างไร                                                                                    

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉีบไว(ครูไม่ควรพูดมากเกินไป)
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่มเด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
**กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง(ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)
ใช้ได้ดีมากกับเด็กพิเศษ
      ถ้ามีเหตุการณ์เด็กกำลังพยายามใส่เสื้อกันเปื้อนเมื่อครูเห็นครูก็รู้ว่าเด็กต้องการที่จะใส่เด็กพยายามใส่ยังไงก็ยังใส่ไม่ได้สิ่งแรกที่ครูควรทำคือเข้าไปถามเด็กว่าหนูจะทำอะไรคะ ถามจนเด็กบอกความต้องการแล้วครูช่วยแต่ถ้าเด็กไม่ตอบครูก็เป็นคนถามหนูจะใส่ผ้ากันเปื้นใช่ไหม จนให้เด็กทำท่าทาง เช่นพยักหน้า หรือ ตอบครู แต่ถ้าเด็กยังไม่ตอบครูก็ใช้การสัมผัสบอกเด็กนี้ใส่ผ้ากั้นเปื้อนนะแล้วครูก็ช่วยใส่ผ้ากันเปื้อนให้เด็ก
อาจารย์ให้ทำกิจกรรมดนตรีบำบัด
    ประโยชน์ในการทำกิจกรรม คือ ฝึกสมาธิ อดทน การสังเกต มิติสัมพันธ์ จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และการใช้กล้ามเนื้อ




ประมินตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเสียงดังบางครั้ง เรียนกับอาจารย์สนุกมากคะ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถาม เสียงดังในห้องบางครั้งเป็นระยะๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมผลงานของแต่ละคู้สวยงามมมาก
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้ความรู้และแนะนำวิธีการในการเตรียมความพร้อมในการสอบบรรจุให้นักศึกษาเมื่อขึ้นปี4ให้เริ่มอ่านหนังสือได้แล้ว และตั้งใจสอนนักศึกษาให้นักศึกษาฝึกร้องเพลง อธิบายเนื้อหาที่สอนได้เข้าใจยกตัวอย่างประกอบการสอนทุกครั้ง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8








                                                                  
                  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดวันมาฆบูชา




บันทึกอนุทินครั้งที่ 7




บันทึกอนุทินครั้งที่ 7







ไม่มีการเรียนการสอบเนื่องจากสอบกลางภาค

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น






วันนี้เรียนเรื่อง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม 
กิจกรรมการเล่น เป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
ยุทธศาสตร์การสอน  เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าเล่นอย่างไรครูต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างมีระบบจพได้รู้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้างเพื่อทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-คำนึงถึงเด็กทุกคนว่าเด็กสามารถเล่นได้หรือไม่และไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป
-ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆ2-4 คน
ครูปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
เฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มพยักหน้าถ้าเด็กหันมาหาครู  ไม่ชมเด็กหรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
ถ้าเด็กเล่นเสร็จไว ทำงานเสร็จไว เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
ทำโดยการพูดนำของครู
วิธีการนำของครู คือ พาเด็กไปเล่นกับเพื่อน โดยนำอุปกรณ์ไปเล่นกับเพื่อนด้วย
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษมาเป็นเครื่องต่อรอง

*วันนี้ไม่ได้มาเรียนค่ะ*


บันทึกอนุทินครั้งที่5




บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น


.


กิจกรรมที่ทำวันนี้
     อาจารย์แจกถุงมือ ให้นักศึกษาสวมถุงมือข้างที่ไม่ถนัด จากนั้นก็ให้วาดภาพมือที่ใส่ถุงมือนั้นให้เหมือนที่สุด




การทำกิจกรรมครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการสังเกตพฤติกรรม  ถ้าเป็นเด็ก 1 คน เราเห็นเด็กทุกวัน แต่ไม่เคยบันทึกพฤติกรรมเด็ก คิดว่าตนจำได้บันทึกเวลาไหนก็ได้ แต่พอจะบันทึกจริงจำไม่ได้ ก็เหมือนมือของเราเราเห็นทุกวัน พอใส่ถุงมือแล้วให้วาดก็ไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ ในขณะที่วาดจึงพยายาม เทียบกับมือขวา  บางคนก็เอามือที่ใส่ถุงมือไปร่างกับกระดาษ ดูของเพื่อนบ้าง ก็เหมือนกับการสังเกตพฤติกรรมเด็กพิเศษถ้าครูไม่บันทึกทันทีเมื่อเห็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา ครูมาบันทึกทีหลังก็จะใส่ความรู้สึกส่วนตัว  หรือ เทียบกับเด็กคนอื่น ถ้าไม่แน่ใจก็จะถามบุคคลอื่น ซึ่งจำทำให้มีความคลาดเคลื่อนได้


เนื้อหาที่เรียน  วันนี้เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครู
การฝึกเพิ่มเติม เช่น การอบรม สัมมนา
การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กคล้ายคลึงมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องรู้จัก ชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุล ของเด็ก
-มองเด็กเป็นเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า คือ การเข้าใจพัฒนาการเด็กจะช่วยให้ครูมองเก็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
ความพร้อมของเด็ก  
-วุฒิภาวะ 
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ ถ้าเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสสอนมากขึ้นเท่านั้น
การสอนโดยบังเอิญกับกิจกรรมก็สามารถทอดแทรกได้และ ครูต้องมีความสนใจเด็ก มีความรู้สึกดีต่อเด็ก มีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
อุปกรณ์ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างควรเป็นสื่อที่ไม่แยกเพศเด็กและเป็นสิ่งที่เล่นไม่ตายตัว เช่น บล็อก  เลโก้
ตารางประจำวัน เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำกิจกรรมต้องเรียงเป็นลำดับเป็นขั้นตอนและควรคำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา 
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น  เช่น การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ยอมรับความสามารถของเด็ก ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคนตั้งไว้ไม่สูงจนเกินไป
การใช้สหวิทยาการ
-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ ฟังหูไว้หูแล้วไปปรับใช้กับเด็ก
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน เช่น  การร้องเพลง
การเปลี่ยนพฤติกรรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้ เพราะ ทุกคนมีศักยภาพในตัว
เทคนิคการให้แรงเสริม 
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
-พูดชมเด็ก การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก พยักหน้า ยิ้ม ฟัง สัมผัสทางกาย ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย  
-ครูให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท
-การย่อยงาน ลำดับความยากง่ายของงาน  
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยงานในแต่ละขั้น
-สอนจากง่ายไปยาก
-ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
-ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-ทีละขั้นไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
-ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา 
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
-พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การหยิบและเก็บของ
-สอนก้าวไปข้างหน้า หรือ ย้อยมาจากข้างหลัง
เช่น เด็กตักซุป  สอนที่ละขั้นตอน คือการสอนไปข้างหน้า
สอนการจับช้อน--การตัก--การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก--การเอาช้อนและซุปเข้าปาก--การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
เด็กพิเศษชอบการสอนย้อนกลับจากข้างหลังไปข้างหน้า เช่น การดึงเชือกร้องเท้าก่อนแล้วย้อนไปทีละขั้นตอน 
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-เอาเด็กออกจากการเล่น 
ครูต้องคงเส้นคงวา




  การประเมิน     
 ประเมินตนเอง
  แต่งตัวเรียบร้อย มาสายเล็กน้อย ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง ตั้งใจเรียน แอบเสียงดังบ้างเล็กน้อย เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน 
ประเมินเพื่อน  
เพื่อนแต่งตัวเรียบร้อย บางคนก็มาสาย คุยกันเสียงดังเป็นระยะ อาจารย์ต้องคอยเตือนเสมอ บางส่วนก็ตั้งใจเรียน บางครั้งเพื่อนก็ไม่ค่อยสนใจเรียนอาจเป็นเพราะวันนี้มีเนื้อหามากจึงทำให้เพื่อนเบื่อ แต่เพื่อนทุกคนก็เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนและตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้
ประเมินอาจารย์  อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน นำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจ คอยยกตัวอย่างเกี่ยวกับเด็กพิเศษให้ฟังเสมอ และคอยถามนักศึกษาว่าเข้าใจเนื้อหาหรือไม่ โดยให้นักศึกษาช่วยกันตอบคำถาม อาจารย์มีความอดทนมากเพราะเวลาที่นักศึกษาเสียงดังอาจารย์จะคอยเตือนเสมอ อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ